ความแตกต่างของสถานที่กักตัว

ความแตกต่างของสถานที่กักตัว

สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ยังคงมีความรุนแรง โดยเฉพาะกับระลอกนี้ที่เชื้อไวรัสได้กลายพันธุ์ โดยเวลานี้ในประเทศไทยมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ

Alpha (อัลฟา) ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร, เบตา (Beta (เบตา) ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้, Gamma (แกมมา) ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล และ Delta (เดลตา) ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย

ณ ตอนนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อทะลุวันละหมื่นคนไปแล้ว จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีที่กักตัว โดยสาธารณสุขกำหนดแนวทางปฏิบัติ มาตรการ หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางการดำเนินเพื่อการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่มเติม โดยมีทั้งหมด 5 ประเภท คือ

Home Isolation


เป็นการให้ผู้ติดโควิด 19 รักษาตัวที่บ้าน โดยแนวทางนี้จะช่วยให้โรงพยาบาลสนาม สามารถบริหารจัดการเตียงให้กับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้ โดยให้กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ สามารถกักตัวรักษาได้ที่บ้าน ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และพยาบาล

โดยผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องเป็นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แต่ต้องยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเองอย่างเคร่งครัด

หากไม่มีอาการ แพทย์จะสั่งจ่ายยาฟ้าทลายโจร แต่ถ้าเริ่มมีอาการ หรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ส่งที่บ้าน ส่งอาหารให้ผู้ป่วยที่บ้าน 3 มื้อ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ทางโรงพยาบาลจะเบิกจ่ายกับ สปสช. โดยเป็นค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน

Home Quarantine

เป็นการกักตัวเองให้อยู่แต่ในบ้าน กับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ หรือ สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และแยกจากผู้อื่นภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคเป็นระยะเวลา 14 วัน เนื่องจากเตียงให้การรับรองผู้ป่วยนั้นไม่เพียงพอ ซึ่งทำเหมือนกับต่างประเทศ หากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

ผู้ถูกกักกันต้องไม่ออกจากที่พักอาศัยเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเดินทางมาจากพื้นที่ระบาด ซึ่งหมายความว่า ผู้ถูกกักกันจะต้องหยุดเรียน หยุดงาน และไม่เดินทางออกนอกบ้านเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม

หากมีอุณหภูมิในร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจะติดตามอาการผู้ถูกกักกันในตอนเช้าของทุกวัน รวมทั้งประสานงานส่งต่อกรณีพบว่ามีอาการป่วย

Hospitel

มาจากคำว่า Hospital บวกกับ Hotel ซึ่งเอาไว้ใช้กับผู้ป่วยเฉพาะกิจ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่รุนแรง โดยปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ เพื่อให้ทางโรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ยังเป็นการดึง “ผู้ประกอบการโรงแรม” หลายแห่ง เพื่อปรับเป็น “Hospitel” (ฮอสพิเทล) หรือ “หอผู้ป่วยติดโรคโควิด-19 เฉพาะกิจ” และเป็นการช่วยพลิกวิกฤตของโรงแรมต่างๆ ซึ่งไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศได้ โดยจะปลอดภัยมากกว่าการไปโรงพยาบาลสนาม เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีการกักตัวแบบคนเดียว นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาลไม่เสี่ยง มีเตียงเพียงพอ

Hospitel มีระบบดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และระบบสำคัญๆ ของโรงพยาบาล ควบคุมการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการระบาด สู่บุคคลภายนอก ขณะเดียวกันกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะตรวจประเมินมาตรฐาน ทั้งด้านโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ น้ำเสีย ไม่มีผลกระทบต่อชุมชน มีการจัดบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน

Hospital

หลังจากที่มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่รับตรวจหาเชื้อโควิดแล้ว หากผลตรวจออกมาพบว่าติดเชื้อโควิด โรงพยาบาลหรือหน่วยงานนั้น จะโทรติดต่อกลับมาแจ้งผล เพื่อให้ผู้ติดเชื้อนั้นทำการกักตัวแยกจากผู้อื่น และควรชี้แจงไทม์ไลน์ของตัวเองในช่วง 14 วันก่อน ให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือเคยใกล้ชิดกันในช่วงเหล่านี้ทราบ เพื่อที่จะได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดและกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป

โดยปกติแล้ว หากมีการแจ้งผลว่าติดเชื้อโควิด-19 ทางโรงพยาบาลที่รับเรื่อง จะส่งรถพยาบาลมารับผู้ป่วยเพื่อไปทำการรักษาภายใน 1-2 วัน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันละหลายหมื่นคนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเตียงผู้ป่วยโควิดในประเทศไทยต่อจำนวนผู้ป่วยนั้นไม่เพียงพอแล้วในตอนนี้

ในกรณีที่เตียงไม่พอ โทร 1330 (สำนักงานหลักประกันสุขภาพ), 1668 (กรมการแพทย์) หรือ 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) เพื่อแจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของตน หรือกรอกข้อมูลในไลน์ @sabaideebot (สบายดีบอต)

Field Hospital

โรงพยาบาลสนาม เป็นสถานที่ที่จัดขึ้นมาให้รองรับจำนวนผู้เข้ารับการรักษาได้ทีละจำนวนมาก โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมการแพทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปัจจุบันเริ่มจัดตั้งในแต่ละจังหวัดต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น

ไม่เหมาะกับผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ ไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ ที่สำคัญผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม ดูแลรักษาได้โดยวิธีการพูดคุยกับคุณหมอผ่านกล้อง (Telemedicine & Care) และหากมีอาการหนักต้องนำส่งโรงพยาบาลเครือข่าย

และจากการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ รัฐบาล ได้เพิ่มโรงพยาบาลสนามในหลายแห่ง พร้อมกับขอสนับสนุนกำลังบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในส่วนของแพทย์เฉพาะทาง แพทย์จบใหม่ และพยาบาล มาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย

สร้าง Connection, ผู้บริหารยุคใหม่ , หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง

ติดต่อสอบถามหลักสูตรนักบริหารระดับสูง หรือ คอนเนคชั่น ได้ที่
Line : @padacourse
Facebook : PADAAcademy
Phone : 0872338000

บทความที่น่าสนใจ