📌 Touchless Society เพราะโรคระบาดโควิดทำให้เราต้องใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยมากขึ้นกว่าปกติการลดการสัมผัส จึงเป็นอีกหนึ่งวิถีเทรนด์ New Normal ที่ทำให้เกิดธุรกิจที่ช่วยให้เราลดการสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ประตูที่มีเซนเซอร์ปิด-เปิดอัตโนมัติ, การจ่ายเงินแบบ e-payment, การจัดส่งสินค้าแบบ Contactless Delivery คือเทรนด์ใหม่ของธุรกิจ Food Delivery ที่ลูกค้าจะระบุจุดรับ-ส่งอาหารโดยผู้ส่งอาหารจะไปยังจุดที่แจ้งไว้ แล้ววางอาหารไว้บนกระเป๋าส่งอาหารและรอให้ลูกค้าออกมารับไม่มีการส่งจากมือถือมือเหมือนที่เคยทำตามปกติรวมถึงการรังสรรค์อุปกรณ์หรือ gadget ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียง เพื่อลดการสัมผัส 📌 Regenerative Organic เป็นอีกเทรนด์ที่เกิดภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยในยุค New Normal และจะกลายเป็น Next Normal ต่อไป นั่นคือการสร้างมาตรฐานสินค้าทางด้านการเกษตร ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผู้คนรวมทั้งสัตว์ให้มากขึ้น เพราะต้องดูแลให้ครอบคลุมถึงมาตรฐาน คุณภาพดินการคุ้มครองสัตว์ คุณภาพชีวิตเกษตรกร ความยุติธรรมด้านค่าแรงรวมถึงระบบฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนนอกเหนือไปจากในเรื่องของการดูแลให้ปลอดสารพิษและปราศจากการดัดแปลงเมล็ดพันธุ์ค่ะเพราะฉะนั้นคนที่ทำธุรกิจด้านการเกษตรหรือเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรควรจะต้องปรับเปลี่ยนการทำเกษตรรูปแบบเดิมเพื่อให้ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงที่คนหันมาใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพมากขึ้นรวมทั้งยังเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าการเกษตรด้วยค่ะ
นอกจากนี้ยังมีเทรนด์วิถี New Normal อื่น ๆ ที่จะช่วยติดปีกให้ธุรกิจไปรอดโดยผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยนางสาวมิเชล ดูเอิสท์ รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัทการ์ทเนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีในอเมริกา ได้แนะนำเทรนด์ธุกิจในวิถี New Normal ที่จะช่วยให้ธุรกิจไปรอดได้ อาทิ
📌 การสร้างรายได้จากข้อมูล (Data Monetization) ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้ผู้บริหารด้านไอทีในอุตสาหกรรมสามารถผลิต วางแผนเพิ่มรายได้จากการแปลงสินค้าและให้บริการในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งได้คาดกาณ์ว่าภายในปี 2567 ครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ขององค์กรภาคการผลิตขนาดใหญ่ระดับโลกจะประสบความสำเร็จจากการสร้างรายได้ด้วยข้อมูลหรือ Data
📌 การให้บริการผ่านอุปกรณ์ (Equipment as a Service: EaaS) ถือเป็นโมเดลเชิงพาณิชย์ที่หลายธุรกิจใช้สำหรับชำระค่าธรรมเนียมในขั้นตอนการดำเนินงานของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำแทนที่การจัดซื้ออุปกรณ์รูปแบบลักษณะนี้โดยจะฝังเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เพื่อใช้ประโยชน์จากการออกแบบทั่วไปและปรับเฟรมเวิร์กให้เข้ากับอุตสาหกรรมเพื่อให้สินทรัพย์และการค้นหาทางแก้ไขในสินทรัพย์มีประสิทธิภาพสุงสุด โดยคาดว่าปี 2566 ผู้ผลิตเครื่องมือ 20% ในอุตสาหกรรมจะสนับสนุนการให้บริการผ่านอุปกรณ์ (EaaS) ด้วยการเพิ่มความสามารถการควบคุมอุตสาหกรรมระยะไกลจากโรงงานที่เป็นฐานการผลิตจากปัจจุบันที่แทบจะเป็นศูนย์