5 ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจ

การส่งเสริมทักษะและยกระดับความฉลาดทางดิจิทัล (DigitalIntelligence Quotient)
สำคัญอย่างไรในยุคดิจิทัล

เราคงเคยได้ยินคำว่าระดับความฉลาดทางปัญญา : IQ (Intelligence Quotient) และระดับความฉลาดทางอารมณ์: EQ (Emotional Quotient) กันมาแล้ว แต่ในยุคดิจิทัลนี้มีอีกคำหนึ่งที่เกิดขึ้นมาคือคำว่า “ระดับความฉลาดทางดิจิทัลหรือ DQ (Digital Intelligence Quotient) โดย ดร.สรานนท์ อินทนนท์ผู้เขียนหนังสือ “ความฉลาดทางดิจิทัล DQ Digital Intelligence” ของมูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้เขียนคำนิยามDQ ไว้ในหนังสือ ว่าคือ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายบนเส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัลและสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ ถือเป็นการสร้าง Connection

ดังนั้นความเป็นพลเมืองดิจิทัลผู้บริหารยุคใหม่จึง หมายถึง พลเมืองที่ใช้สื่อดิจิทัลหรือสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม อย่างเข้าใจตามบรรทัดฐานมีความรับผิดชอบต่อการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารอย่างเหมาะสม และมีความฉลาดทางดิจิทัล โดยมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมความมีจริยธรรมของการมีส่วนร่วม การเคารพผู้อื่น รวมทั้งการปฏิบัติและรักษาไว้ซึ่งกฎเกณฑ์เพื่อสร้างความสมดุลของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและรับผิดชอบ

สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการยกระดับพลเมืองไทยให้เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดทางดิจิทัลที่มีคุณภาพโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ETDA ได้จัดการอบรมให้กับภาคประชาชนขึ้นโดยได้พัฒนาหลักสูตรซึ่งอ้างอิงมาตรฐานจากกรอบ DQ Framework ทั้ง 8 ด้านของ DQ Institute เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของคนไทยประกอบด้วยกรอบเนื้อหา 5 ด้าน ได้แก่

👉Digital Identity อัตลักษณ์ดิจิทัล: การสร้างความตระหนักรู้ในการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัลอย่างเข้าใจและระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์

👉Digital Use การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม: การสร้างความเข้าใจในการจัดสรรเวลาหน้าจอได้อย่างสมดุลและรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งกับตนเองและผู้อื่น

👉Digital Security การจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล: การสร้างความตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมเสี่ยงหรือความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลรวมทั้งสร้างความเข้าใจต่อประเด็นภัยคุกคามไซเบอร์ (cyber threats) ที่เป็นอันตรายต่อข้อมูลระบบ และอุปกรณ์ รวมทั้งรู้จักวิธีหรือเครื่องมือเบื้องต้นที่จะช่วยป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามได้

👉Digital Literacy การรู้เท่าทันดิจิทัล:ระดับทักษะและความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งอุปกรณ์เครื่องมือระบบบเพื่อการปฏิบัติงานและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

👉Digital Communication การสื่อสารดิจิทัล:การสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของผลกระทบจากการสร้างร่องรอยดิจิทัลทั้งทางบวกและลบรู้จักเครื่องมือและวิธีการในการจัดการร่องรอยทางดิจิทัลที่ดีและการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างความร่วมมือที่ดีบนโลกดิจิทัล

จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมทักษะและยกระดับความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient) มีความสำคัญต่อคนในสังคมยุคดิจิทัลเป็นอย่างยิ่ง จึงควรเร่งพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรและการบริหารยุคใหม่ก้าวย่างต่อไปในอนาคตโดยเร็วค่ะ

แหล่งอ้างอิง:
https://www.etda.or.th/th/pr-news/Digital-Citizen-Courses-Coming-Soon.aspx
https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/1355-goto-citizens21st
http://cclickthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/dq_FINAL.pdf

ติดต่อสอบถามหลักสูตรนักบริหารระดับสูง หรือ คอนเนคชั่น ได้ที่
Line : @padacourse
Facebook : PADAAcademy
Phone : 0872338000

บทความที่น่าสนใจ