“FAKE NEWS” ช่องโหว่ของข่าวจริง!​

“FAKE NEWS” ช่องโหว่ของข่าวจริง!​

ปัจจุบันเราสามารถรับข่าวสารได้หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางอินเทอร์เน็ตเพราะความสะดวกรวดเร็วในการรับและส่งข่าวสารต่อๆ กันผ่านอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับยุคนี้

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนจำนวนมาก อันเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ไม่ประสงค์ดีในการโน้มน้าวชักจูงหรือโฆษณาชวนเชื่อด้วยการสร้างเนื้อหาทำลายฝ่ายตรงข้าม สร้างความแตกแยก ชิงชัง จนเกิดความเข้าใจผิดหรือให้ความรู้ที่บิดเบือน ใน

ปัจจุบันคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะมีการบิดเบือนในด้านข่าวสาร จนทำให้เกิดความสับสนต่อผู้เสพข่าวสาร ปัจจุบันมีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมากจึงเกิดการแพร่ข่าวปลอมโดยผู้ส่งสาร หรือผู้อ่านไม่ได้ตรวจสอบข่าวสารนั้นแล้วทำการส่งต่อไปเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดการกระจายข่าวสู่ผู้อื่นอย่างรวดเร็ว

เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "FAKE NEWS" (เฟคนิวส์) หรือเป็นข่าวปลอมที่แชร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และแอปพลิเคชันไลน์ โดยข้อความหรือข่าวเหล่านี้สามารถสร้างความเข้าใจผิดและความเสียหายแก่บุคคลที่ถูกพาดพิงและสังคมได้ การกระจายข่าวปลอมมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถกระจายข่าวไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก

ตามข้อมูลนั้น "FAKE NEWS" (เฟคนิวส์) สามารถเข้าถึงผู้ที่อ่านได้มากกว่าข่าวจริงถึง 6 เท่า การแพร่ข่าวปลอมอย่างรวดเร็วสู่คนจำนวนมากมีเป้าหมาย คือ การทำให้ผู้รับสารเข้าใจข้อมูลที่ผิดบิดเบือนซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด เพราะสิ่งที่ตามมาคือ ผู้รับสารไม่สามารถแยกแยะข้อมูลข่าวสารได้ว่าข่าวไหนเท็จจริงหรือข่าวไหนปลอม เพราะข่าวปลอมบางข้อความอ้างอิงถึงบุคคลหรือแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ จนบางครั้งเกิดขึ้นเพียงเพื่อใส่ร้ายหรือบิดเบือนข้อมูลบางอย่าง และบุคคลที่หลงเชื่อข่าวปลอมเหล่านั้นจะส่งต่อไปยังบุคคลอื่น ต่อ ๆ กัน จึงอาจส่งผลทำให้เกิดการเข้าใจผิดที่ขยายวงกว้าง

สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ แม้กระทั่งการสร้างภาพการ์ตูนด้านลบ หรืออินโฟกราฟฟิคด้านลบของบุคคลหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งขึ้นมาลงสื่อสังคมโซเชียลอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ออกไปเป็นระยะๆ ในเวลาที่ค่อนข้างยาว เช่น หลายเดือน หรือ เป็นปี เพื่อตอกย้ำภาพด้านลบของบุคคลหรือสถาบันนั้นๆ โดยมีเป้าหมายให้คนที่ได้เห็นภาพการ์ตูน หรืออินโฟกราฟฟิค ดังกล่าว เกิดความเชื่อทีละเล็กทีละน้อยสะสมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นความเชื่ออย่างถาวร

โดย ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity จะให้คำอธิบายในเรื่องดังกล่าว ผ่านทางงานสัมมนากับ PADA Online ผ่านทาง Zoom ในวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป

ติดต่อสอบถามหลักสูตรนักบริหารระดับสูง หรือ คอนเนคชั่น ได้ที่
Line : @padacourse
Facebook : PADAAcademy
Phone : 0872338000

บทความที่น่าสนใจ