ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม แตกต่างกันอย่างไร

ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม แตกต่างกันอย่างไร

หลังจากที่ค.ร.ม. ผ่านร่าง พ.ร.บ.คู่ชิวิต เพื่อให้สภาพิจารณาร่วมกันในวันนี้ 15 มิถุนายน 2565 มาดูกันค่ะว่า ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมวงกว้างของทั้ง2 ร่าง นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

สำหรับ สาระสำคัญ ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต มี 11 ข้อ ดังนี้
1.คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้

2.กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้

3.การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอมมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยรวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่นทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา

4.กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิตต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาลและเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตแล้วผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะ

5.กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิตเช่นต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน

6.คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาและมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ป. วิ อาญา)

7.ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตแบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน

8.การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิตคู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่นคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่วทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี

9.บุตรบุญธรรมเมื่อคู่ชีวิตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. นี้ และ ป.พ.พ. แล้วสามารถรับบุตรบุญธรรมได้รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้

10.เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติในป.พ.พ. ว่าด้วยมรดก

11.กำหนดให้นำบทบัญญัติในป.พ.พ.ว่าด้วยคู่สมรสครอบครัวและบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลมในบางกรณี.นอกจากนี้ยังมีร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้ 

1.ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี“คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต”อยู่ไม่ได้
2.กำหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึงกรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน “คู่ชีวิต”
3.ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไปถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต มีการรับรองและให้สิทธิดังนี้
1.คู่ชีวิตมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
2.มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา
3.สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
4.สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
5.สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
6.สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
7.สิทธิจัดการศพ.

ทั้งนี้ก็ยังมีความเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมเท่ากับ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในเรื่องสิทธิและสวัสดิการบางประการ อาทิ การหมั้น , การอุ้มบุญ , การขอสัญชาติไทยให้คู่รักที่เป็นชาวต่างชาติ , สิทธิประกันสังคม , สวัสดิการข้าราชการ , สิทธิลดหย่อนภาษี เป็นต้น

#หลักสูตรนักบริหารระดับสูง
#คอร์สอบรมผู้บริหาร
#สร้าง Connection

ติดต่อสอบถามหลักสูตรนักบริหารระดับสูง หรือ คอนเนคชั่น ได้ที่
Line : @padacourse
Facebook : PADAAcademy
Phone : 0872338000

บทความที่น่าสนใจ